สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัมมาน จะเปิดให้บริการหนังสือเดินทาง รับรองนิติกรณ์เอกสาร และให้คำปรึกษาด้านกงสุล รวมถึงให้คำปรึกษาด้านแรงงานโดยผู้แทนจากสำนักงานแรงงานในประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่เมืองเออร์บิล เขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน สาธารณรัฐอิรัก โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สถานที่: Noble Hotel, Peshawa Qazi Rd. (100 Meter Rd.), Ainkawa, Erbil
วันและเวลาให้บริการ: วันที่ 3 ส.ค. 2564 เวลา 10.00 น. - 16.30 น. (พักเที่ยงระหว่าง 12.00 - 13.30 น.)
ลงทะเบียนล่วงหน้าทาง https://forms.gle/F2YT5Cq22Keyr3vG6 ภายในวันที่ 30 ก.ค. 2564
รายละเอียดเอกสารที่ต้องใช้ในการขอรับบริการหนังสือเดินทางและนิติกรณ์:
บริการหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อายุใช้งานไม่เกิน 5 ปี)
|
- เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
สำหรับบุคคลทั่วไป
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (ฉบับจริง) และสำเนา 1 ชุด
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือสำเนาฯ หรือ ทะเบียนบ้าน หรือสำเนาฯ จำนวน 1 ชุด
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (หากมี)
- กรณีที่หนังสือเดินทางเล่มเก่าสูญหาย ต้องมีใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีเป็นภาษาอาหรับให้แปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมสำเนา 1 ชุด
สำหรับผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เยาว์ (ฉบับจริง) และสำเนา 1 ชุด
- สูติบัตรไทย และสำเนา 1 ชุด (กรณีผู้เยาว์อายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ และยังไม่ได้ทำบัตรประชาชน)
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เยาว์1 ชุด (หากมี)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดาพร้อมลงนามกำกับสำเนาถูกต้อง
- หนังสือเดินทางของบิดาหรือมารดา สำเนา 1 ชุด (หากบิดาหรือมารดา เป็นชาวต่างชาติ) พร้อมลงนามกำกับสำเนาถูกต้อง
- บิดาและมารดาจะต้องมาลงนามให้ความยินยอมในการออกหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันยื่นคำร้องทั้งนี้หากบิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ ให้ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ โดยต้องไปลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่เขต อำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือที่สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย กรณีที่อยู่ต่างประเทศ
- กรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า15 ปีบริบูรณ์ หากทั้งบิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ ให้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้พาผู้เยาว์มาทำหนังสือเดินทาง โดยผู้รับมอบอำนาจต้องอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และหนังสือยินยอมจากบิดาและมารดาให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ โดยต้องไปลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่เขต อำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือที่สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย กรณีที่อยู่ต่างประเทศ
- กรณีที่บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของมารดามารดาสามารถลงนามให้ความยินยอมได้เพียงฝ่ายเดียวโดยแสดงหนังสือปกครองบุตร (ป.ค.14) ที่ออกโดยอำเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น เป็นหลักฐานยืนยัน
- กรณีบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตให้บิดาหรือมารดาที่ยังมีชีวิตอยู่มาลงนามให้ความยินยอมได้เพียงฝ่ายเดียวโดยแสดงใบมรณบัตรของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นหลักฐานยืนยัน
- กรณีอื่น ๆ ที่ต้องมีคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง
- กรณีบิดาและมารดาเสียชีวิต
- กรณีบิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียนสมรสและไม่สามารถตามหาอีกฝ่ายหนึ่งมาลงนามให้คำยินยอมได้
- กรณีบิดาหรือมารดาของผู้เยาว์มิได้จดทะเบียนสมรส แต่ผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของบิดาหรือมารดาฝ่ายเดียวมาตลอด โดยไม่สามารถติดต่ออีกฝ่ายได้
- ค่าธรรมเนียม
45.00 ดอลลาร์สหรัฐ
- รูปแบบและระยะเวลาในการจัดส่ง
ใช้เวลาราว 3 – 4 สัปดาห์ ในการส่งหนังสือเดินทางจากประเทศไทยมาที่จอร์แดน และราว 1 – 2 สัปดาห์ในการส่งหนังสือเดินทางจากจอร์แดนไปยังอิรัก โดยผู้ร้องจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดส่งจากจอร์แดนไปยังอิรักด้วยตนเอง (ขอให้หารือแนวทางการชำระค่าจัดส่งหนังสือเดินทางกับเจ้าหน้าที่ระหว่างการเข้ารับบริการ)
บริการหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อายุใช้งานไม่เกิน 10 ปี)
|
- คุณสมบัติ
- เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรืออายุ 17 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและบรรลุนิติภาวะด้วย
การสมรส)
- กรณีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นการขอหนังสือเดินทางเป็นครั้งแรกในต่างประเทศที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์แต่ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน สามารถขอหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปอายุไม่เกิน 5 ปี เท่านั้น ไม่สามารถขอหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปอายุไม่เกิน 10 ปี
- เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
- หนังสือเดินทางเล่มเดิมฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด ทั้งนี้ กรณีหนังสือเดินทางเล่มเดิมสูญหาย จะต้องแสดงใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ (กรณีเป็นภาษาอารบิกให้แปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ) และสำเนา 1 ชุด
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงหรือสำเนา จำนวน 1 ชุด
- ทะเบียนบ้านหรือสำเนา จำนวน 1 ชุด
- สำเนาเอกสารเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (หากมี)
- ค่าธรรมเนียม
65.00 ดอลลาร์สหรัฐ
- รูปแบบและระยะเวลาในการจัดส่ง
ใช้เวลาราว 3 – 4 สัปดาห์ ในการส่งหนังสือเดินทางจากประเทศไทยมาที่จอร์แดน และราว 1 – 2 สัปดาห์ในการส่งหนังสือเดินทางจากจอร์แดนไปยังอิรัก โดยผู้ร้องจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดส่งจากจอร์แดนไปยังอิรักด้วยตนเอง (ขอให้หารือแนวทางการชำระค่าจัดส่งหนังสือเดินทางกับเจ้าหน้าที่ระหว่างการเข้ารับบริการ)
บริการหนังสือเดินทางฉุกเฉิน (อายุใช้งานไม่เกิน 1 ปี)
|
- ข้อมูลทั่วไป
หนังสือเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Passport) มีอายุ 1 ปีและไม่สามารถต่ออายุในเล่มเดิมได้ออกให้สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปประเทศที่สามเท่านั้น กรณีมีความจำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศไทยโดยเร่งด่วนผู้ร้องควรยื่นขอทำหนังสือสำคัญประจำตัวหรือ Certificate of Identity (CI) แทนการใช้หนังสือเดินทางชั่วคราว
- เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางฉุกเฉิน
สำหรับบุคคลทั่วไป
- กรอกคำร้องขอหนังสือเดินทางฉุกเฉิน (ขอรับได้เมื่อมาขอรับบริการ)
- หนังสือเดินทาง (เล่มจริง) พร้อมสำเนา 1 ชุด
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ/หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
- กรณีที่หนังสือเดินทางเล่มเก่าสูญหาย ต้องมีใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
สำหรับผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์) มีเอกสารประกอบเพิ่มเติม ดังนี้
- กรอกคำร้องขอหนังสือเดินทางฉุกเฉิน (ขอรับได้เมื่อมาขอรับบริการ)
- สูติบัตร หนังสือเดินทาง และสำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านของผู้เยาว์ พร้อมสำเนา 1 ชุด
- หนังสือเดินทาง บัตรประชาชน และ/หรือ สำเนาทะเบียนบ้านบิดามารดา พร้อมสำเนา 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนสมรสของบิดามารดา (หากมี) พร้อมสำเนา 1 ชุด
- ทั้งบิดาและมารดาต้องลงนามให้ความยินยอมในสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายของผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศซึ่งอยู่หน้าที่ 2 ของคำร้องขอทำหนังสือเดินทางชั่วคราว กรณีบิดาและ/หรือมารดาไม่สามารถลงนามในสัญญาดังกล่าว เพราะพำนักอยู่ที่ประเทศไทย ให้ไปทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศได้ที่สำนักงานเขต อำเภอ สำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือกองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล
- หากบิดามารดาไม่ได้อยู่ด้วยกันและมิได้จดทะเบียนสมรสกัน ต้องมีหนังสือปกครองบุตร (ป.ค. 14) ที่ออกโดยอำเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น เป็นหลักฐานยืนยัน
- ค่าธรรมเนียม
10.00 ดอลลาร์สหรัฐ
- รูปแบบการจัดส่ง
รับเล่มได้ภายในวันเดียว
หมายเหตุ: หนังสือเดินทางฉุกเฉินไม่สามารถใช้ต่ออายุ Residence Permit ได้
เอกสารที่สามารถนำมารับรองได้
- สถานเอกอัครราชทูตฯ ให้บริการรับรองเอกสารที่ผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงการต่างประเทศจอร์แดนเท่านั้น
- เอกสารสำคัญประจำตัวฉบับจริงที่ออกโดยหน่วยงานไทย อาทิ บัตรประจำตัวประชาชน เอกสารทะเบียนราษฎร์ ทะเบียนครอบครัว หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หนังสือรับรองความเป็นโสด เป็นต้น สามารถนำมารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้โดยไม่ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์
เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่น
- คำร้องขอนิติกรณ์
- เอกสารฉบับจริงที่ต้องการรับรอง
- สำเนาบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้ร้อง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- หากเจ้าของเอกสารมิได้เป็นผู้ยื่นคำร้อง ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจ บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางตัวจริงของเจ้าของเอกสารและผู้ได้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนา
ค่าธรรมเนียม
เอกสารชุดละ 22.00 ดอลลาร์สหรัฐ
**********************